เกี่ยวกับสถาบัน

เทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ เป็นสถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานสาขาวิชาชีพต่างๆ ซึ่งเป็นความต้องการอย่างยิ่งของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน นอกจากนั้นสถาบันยังตระหนักถึงการมีทักษะในศตวรรษที่ 21 อย่างสมบูรณ์

ประวัติของสถาบัน

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สทส.)
Suvarnabhumi Institute of Technology (SVIT)

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ//เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งใหม่//เกิดขึ้นที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย//ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

ปัจจุบันการผลิตบัณฑิตตามหลักสูตรต่างๆ//ของสถาบันอุดมศึกษาทั่วไปยังคงเป็นหลักสูตรที่ออกแบบไว้ภายใต้บริบทของประเทศไทยในสถานการณ์ปกติตามแผนพัฒนาต่างๆ ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาแต่ปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปภายใต้ข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) โดยผู้ประกอบการของประเทศไทยได้ก้าวออกไปเป็นนักลงทุนในประเทศอื่นๆในเขตประชาคมอาเซียนมากขึ้นทุกๆปี//รวมถึงประเทศที่อยู่นอกเขตอาเซียนที่เห็นความสำคัญของข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน//ทำให้มีความต้องการทรัพยากรบุคคลที่มีความเป็นสากลมีความสามารถที่จะทำงานภายใต้วัฒนธรรมที่แตกต่างและหลากหลายเพิ่มมากขึ้นทุกปีแต่หลักสูตรการเรียนการสอนที่ออกแบบมารองรับสถานการณ์ดังกล่าวยังมีไม่เพียงพอสถานการณ์เหล่านี้คงเป็นปัญหาของผู้ประกอบการและบัณฑิตที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน

 

คณะผู้ก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ//ได้เล็งเห็นว่าการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศเพียงพอที่จะรักษาระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยและมีความจำเป็นเร่งด่วน จึงได้ทำการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิขึ้นเพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประเภท “สถาบัน” ที่มีจุดเน้นทางด้านการผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีและด้านการจัดการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารในภาษาต่างๆ//โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้บริบทของเศรษฐกิจสังคมและการเมืองที่เป็นสากล ที่พร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สถาบันฯ ได้กำหนดผลการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้

  1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral)  : บัณฑิตมีนิสัยการประพฤติตนที่มีคุณธรรม จริยธรรมทั้งในส่วนตนและส่วนรวม มีนิสัยในการปฏิบัติตนตามศีลธรรม ทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม
  2. ด้านความรู้ (Knowledge)  : บัณฑิตมีความรู้ในวิชาชีพและในงานที่รับผิดชอบทั้งเชิงวิชาการทั่วๆ ไป การพัฒนาตนเองและการถ่ายทอดเผยแพร่ความรู้
  3. ด้านทักษะทางปัญญา(Cognitive Skills)  : บัณฑิตมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ประยุกต์ความรู้และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน//สามารถเรียนรู้งานและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน
  4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility) : บัณฑิตมีมนุษยสัมพันธ์ต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานและบุคคลทั่วไป มีความรับผิดชอบเอาใจใส่ต่องานในหน้าที่ทำงานร่วมกับผู้อื่นหรือทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
  5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) : บัณฑิตมีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความสามารถในการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ ความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาอย่างแน่นอนทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นสถาบันจะต้องเร่งเตรียมการณ์รับมือกับปัจจัยดังกล่าวเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ต่อการปรับทิศทางพัฒนาสถาบันในอนาคต โดยสถาบันต้องการปรับปรุงและพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น ด้านการจัดการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต สร้างชื่อเสียงและเอกลักษณ์ให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่สนใจของนักเรียนและผู้ปกครอง การทบทวนหลักสูตรและปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และรองรับการศึกษาในทศวรรษที่ 21 ในด้านวิชาการและวิจัยเน้นการใช้ความแข็งแกร่งในสาขาวิชาที่สถาบันเชี่ยวชาญและชำนาญ และจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานวิจัย ตลอดจนนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสาธารณะมากขึ้น อันส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ในด้านการบริหารจัดการภายในที่ต้องมุ่งเน้นคุณภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีภาวะผู้นำในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับตัวและเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันการณ์และเพื่อความอยู่รอดของสถาบันอย่างยั่งยืน

 

สัญลักษณ์ของสถาบัน

ช้างเอราวัณ หมายถึง ความสง่างาม ความสุขสมบูรณ์
ช่อมะกอก หมายถึง ความสำเร็จและสันติ
ริบบิ้นสีแดงและตาราสีขาว หมายถึง ความโดดเด่นทางเทคโนโลยีและความรู้
ลวดลายไทย หมายถึง ความเป็นไทย
SVIT: สีแดงตัวใหญ่ในส่วนกลาง คือ ชื่อย่อภาษาอังกฤษของสถาบัน ซึ่งหมายถึง ความเป็นสากลที่ชัดเจน
สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ คือ รากฐานสำคัญที่ประสาทความรู้คู่คุณธรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อนำประเทศไทยไปสู่ความสุขสมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างสง่างาม

ดาวน์โหลดสัญลักษณ์ของสถาบัน

รับสมัครนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2567

เกี่ยวกับสถาบันฯ

 

ปรัชญา  (Philosophy)

 

” แผ่นดินแห่งปัญญาและโอกาส “

 


 

ค่านิยมหลักขององค์กร  (Core Values)

 

” การทำงานเป็นทีม “
“มีความรับผิดชอบ “
“เรียนรู้ พัฒนา และมีนวัตกรรม “

 


วิสัยทัศน์  (Vision)

 

“มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพนักศึกษด้านนวัตกรรมตามสาขาวิชาชีพ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบจุดประกายใฝ่รู้ ภายใต้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม”

 


อัตลักษณ์  (Identity)

 

“บัณฑิตผู้มีผลงานด้านนวัตกรรมตามสาขาวิชาชีพ”

 


 

ทำเลที่ตั้ง

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

ตั้งอยู่ที่ 55/56 หมู่7 ซอยสามมิตร ถนนหนามแดง บางพลี ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 บนเนื้อที่ 10 ไร่ 29 ตารางวา สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิตั้งอยู่บนถนนหนามแดง – บางพลี ซึ่งพื้นที่เป็นย่านใจกลางเมืองของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ แวดล้อมด้วยหมู่บ้านเล็ก ใหญ่ ขนาดต่างๆ จำนวนมาก เป็นทำเลที่เหมาะกับการพักอาศัย และเป็นทำเลที่สะดวกในการเดินทางเข้าสู่แหล่งสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นใจกลางกรุงเทพมหานคร ด้วยระยะเวลาเพียง 40 นาที หรือเดินทางสู่สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิด้วยระยะเวลาเพียง 20 นาที และอยู่ห่างจากย่านอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ด้วยระยะเวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ด้วยการที่มีพื้นที่เป็นทำเลกลางเมือง อีกทั้งยังเป็นทำเลที่ใกล้กับโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิระยะห่างประมาณ 300 เมตร ใกล้กับที่ว่าการอำเภอบางพลี องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ และเทศบาลตำบลบางพลี โดยมีระยะห่างประมาณ 1.5 กิโลเมตร ใกล้กับซูเปอร์เซ็นเตอร์ (บิ๊กซีบางพลี) ประมาณ 2 กิโลเมตร และห้างสรรพสินค้า (โฮมโปร บางพลี) ประมาณ 3.5 กิโลเมตร

ต้นไม้ประจำสถาบัน

ต้นกัลปพฤกษ์

ดอกไม้ประจำสถาบัน

กล้วยไม้เอราวัณ

ศูนย์บริการวิชาการพระราม 2
สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

ตั้งอยู่ที่ 70 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านบ่อ อาเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000 บนเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 10.1 ตารางวา การเดินทางสามารถเดินทางมาศูนย์บริการวิชาการพระราม 2 สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ ได้หลายช่องทางเช่น ทางรถยนต์โดยสารสาธารณะหรือรถยนต์โดยสารประจำทาง ทางรถยนต์ส่วนตัว และทางรถไฟโดยทางเข้าศูนย์บริการวิชาการพระราม 2 สามารถเข้าได้ 2 ทางคือ ถนนพระราม 2 และเส้นทางหลวงหมายเลข 3097 สายพระราม 2 นครปฐม

ติดต่อเรา

55/56 หมู่7 ซอยสามมิตร ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540

02-337-3341-3, 095-807-3535

02-337-4103

info@svit.ac.th

Copyright © 2022 SVIT SUVARNABHUMI INSTITUTE OF TECHNOLOGY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า